About
Contact Us
© 2020 Contextual Co.,Ltd. All rights reserved
Back To Home
Back To Home

ถ้วยอนามัยรุ่นใหม่ ถูกพัฒนาให้แก้ปัญหาที่สาวๆ เท่านั้นจะเข้าใจ

ผ้าอนามัย นวัตกรรมที่ทำให้ผู้หญิงมีชีวิตที่สบายขึ้นเมื่อมีประจำเดือน ลองคิดภาพผู้หญิงที่อยู่ในยุคที่ยังไม่มีผ้าอนามันแบบทุกวันนี้สิ พวกเขาใช้ชีวิตกันอย่างไรนะ ? ผ้าอนามัย มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงวันนี้ วันที่ผ้าอนามัยบางเฉียบเหมือนไม่ได้ใส่ แต่ประสิทธิภาพเต็มเปี่ยม แต่ทุกครั้งที่มีการแก้ปัญหาหนึ่งขึ้นมา ก็มักจะสร้างปัญหาใหม่ขึ้นด้วยเสมอไม่ช้าก็เร็ว 

ปัญหาท่ีมากับ ผ้าอนามัย ใช้แล้วทิ้ง

( Photo : https://gph.is/2QoUSEj )
การแก้ปัญหาหนึ่ง ๆ มักจะตามมาซึ่งปัญหาใหม่อยู่เสมอ ผ้าอนามัย ก็เช่นกัน การเกิดขึ้นของผ้าอนามัยแบบใช้ แล้วทิ้งสร้างปัญหาให้ผู้หญิงเราในหลากหลายมิติ เช่น

การเข้าถึง ผ้าอนามัย

ในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทยเอง ก็เจอกับปัญหาการเข้าไม่ถึงผ้าอนามัย เนื่องจากมีราคาสูงเพราะต้องใช้ 3 - 4 ชิ้นต่อวัน และ 4 - 7 วันต่อเดือน มีงานวิจัยที่คํานวณไว้ว่าค่าใช้จ่ายของผ้าอนามัยตลอดชีวิตที่ผู้หญิงต้องแบกรับอาจสูงถึง 40,000 บาท และในบางประเทศพบว่าเด็กนักเรียนหญิงยอมหยุดเรียนทุกครั้งที่มีประจําเดือน เพราะเข้าไม่ถึงผ้าอนามัย และไม่รู้จะต้องจัดการตัวเองอย่างไร

แพ้ผ้าอนามัย

ผู้หญิงหลายคนมีอาการแพ้ ผื่นขึ้น เนื่องจากการสัมผัสเสียดสีผ้าจากอนามัย เพราะในผ้าอนามัย 1 ชิ้นมีวัสดุและสารเคมีหลายชนิด

ทําลายสิ่งแวดล้อม

ผ้าอนามัย ถือเป็นหนึ่งในขยะที่ทําลายยากและสร้างขยะพลาสติกมากที่สุดในโลก เพราะตัวผ้าอนามัยเองประกอบด้วยวัสดุหลายชนิดที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ และเวลาทิ้ง มักจะต้องห่อด้วยกระดาษหรือถุงห่อผ้าอนามัย ทําให้การแยกทําลายขยะกลายเป็นเรื่องยาก

ถ้วยอนามัย คืออะไร ?

จากงานวิจัยพบว่า 70% ของผู้ที่ใช้ถ้วยอนามัย มีความสุขท่ีจะใช้ต่อไปเมื่อพวกเขาคุ้นเคย กับวิธีการใช้แล้ว
ถ้วยอนามัย ( Menstrual Cup ) คือ ถ้วยขนาดเล็กที่ทําจากซิลิโคนที่ได้รับการรับรองทางการแพทย์ สําหรับใส่เข้า ไปในช่องคลอด มีหลายขนาด หลายแบบให้เลือกใช้ เพื่อรองรับประจําเดือนที่ไหลออกมาและไม่ทําให้ประจําเดือนไหลออกมาเลอะด้านนอก กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หลายคนติดใจในช่วงมีประจําเดือน เพราะทั้งไม่มีสารเคมีให้ระคายเคือง ไม่ต้องกังวลเรื่องการแพ้หรืออับชื้น ไม่ต้องคอยเปลี่ยนเข้าออก ใส่ได้นานสุดถึง 12 ชั่วโมง
นอกจากนี้ ถ้วยอนามัย 1 ถ้วย ยังมีอายุการใช้งานได้ถึง 5 - 10 ปี แม้ราคาในการซื้อครั้งแรกอาจจะแพงหน่อย ( ประมาณ 1,000 บาท แล้วแต่ยี่ห้อ ) แต่ก็ใช้ได้ยาว ๆ ลดค่าใช้จ่าย และที่สําคัญลดปริมาณขยะไปได้จํานวนมาก
FUN FACT : ถ้วยอนามัยปรากฏการจดสิทธิบัตรขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1867 โดย S. L. Hockert มีลักษณะเป็น ถ้วยอนามัยที่มีสายเข็มขัดช่วยรั้งเอาไว้ แต่ยังไม่มีการใช้ในเชิงพาณิชย์

ในการเกิดขึ้นของผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ มักจะยังมีช่องว่างให้ พัฒนา ให้ดีข้ึนได้อีกเสมอ เมื่อได้ลองใช้กับผู้ใช้ตัวจริง และนี่คือผลิตภัณฑ์ ถ้วยอนามัย ท่ี Better รวบรวมมาให้ดูว่ามียี่ห้อไหนบ้างที่แก้ปัญหาถ้วยอนามัยให้ตอบโจทย์การใช้งานท่ีดีข้ึนบ้าง

Lily Cup ออกแบบให้ ใส่ง่าย เหมือน ผ้าอนามัยแบบสอด

Lily Cup ( Photo : https://www.intimina.com/lily-cup )
ปัญหาแรกที่ทุกคนกังวลก็คือ ใส่ยาก ! เพราะขนาดที่ใหญ่กว่า ผ้าอนามัยแบบสอด ที่คนอาจจะคุ้นเคย บริษัท Intimina จึงได้ออกแบบถ้วยอนามัยที่รับประกันว่า “ ม้วนให้เล็กได้เทียบเท่ากับผ้าอนามัยแบบสอด ” ทําให้การใส่ เข้าไปทําได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม นอกจากนี้ ที่ขอบด้านบนยังมีการพับเข้ามาด้านในถ้วย เพื่อป้องกันการหกเมื่อดึงออก ได้อีกด้วย

FLEX Cup ออกแบบให้ ถอดออก ง่ายท่ีสุด

FLEX Cup ( Photo : https://flexfits.com/ )
ปัญหาเรื่องการใส่ถ้วยอนามัยเข้าไปแล้ว เมื่อถึงเวลาจะถอดออกก็ถอดยากเหลือเกิน กว่าจะหาตัวถ้วยเจอ หรือบางทีจับก้านได้แล้ว ก็ลื่นหลุดมือ หายเข้าไปอีก กว่าจะบีบถ้วยให้คลายความเป็นสุญญากาศ แล้วดึงถ้วยออกมาได้ ก็เล่นเอาเหนื่อย
FLEX Cup จึงทําถ้วยอนามัยที่ “ ถอดออกได้ง่ายที่สุด เหมือนถอดผ้าอนามัยแบบสอด ” ออกมา ด้วยการทําห่วงที่เรียกว่า ReleaseRingTM ไว้ที่ก้านถ้วย ให้สามารถเอานิ้วไปเกี่ยวไว้ แล้วดึงที่ห่วงนั้น ตัวก้านที่เชื่อมจากห่วง ไปยังขอบถ้วยจะรั้งขอบถ้วยด้านหนึ่งลงให้คลายความเป็นสุญญากาศ ทําให้ดึงถ้วยออกมาได้อย่างง่ายดาย

Formoonsa Cup สําหรับ ผู้หญิง เอเชีย

ด้วยสรีระที่ต่างกันของผู้หญิงตะวันตกและตะวันออก และการใช้ถ้วยอนามัยเริ่มเกิดขึ้นมาจากทางตะวันตก ขนาด ของถ้วยอนามัยต่าง ๆ จึงเหมาะกับสรีระของผู้หญิงตะวันตกมากกว่า
Vanessa Tseng ชาวไต้หวันเองก็เจอกับปัญหานี้และพบว่าผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสุขอนามัยของผู้หญิงในไต้หวัน มีให้เลือกน้อย จึงได้ออกแบบถ้วยอนามัยที่มี “ ขนาดเหมาะสมกับสรีระของผู้หญิงเอเชีย ” ขึ้นมาในชื่อว่า Formoonsa Cup เป็นถ้วยอนามัยทรงคล้ายดอกลิลลี่ ที่มีขนาด 36 mm ซึ่งเล็กกว่าถ้วยอนามัยแบบอื่น ๆ ที่มีอยู่ในตลาด

Kind Cup ออกแบบให้เข้ากับสรีระจริง ๆ

Kind Cup ( Photo :  https://www.kindcup.com/ & Kind Cup Facebook )
ถ้วยอนามัยแบบเดิมที่มีอยู่ มักเป็นรูปทรงถ้วยที่สมมาตรกันทุกด้าน ซึ่งไม่ได้ตรงกับสรีระบริเวณช่องคลอดของผู้หญิง ทําให้เวลาใส่และถอดถ้วยอนามัยทําได้ยาก Kind Cup จึงออกแบบใหม่ มีลักษณะโย้เฉียงไปจากถ้วยอนามัยแบบเดิมให้ “ พอดีกับสรีระบริเวณช่องคลอด ” มากกว่าเดิม ทําให้การใส่ถ้วยอนามัยเข้าไปทําได้ง่ายขึ้น

Yuuki Cup มาพร้อมกับเซ็ตทําความสะอาดถ้วยอนามัย

Yuuki Cuo ( Photo : https://www.yuukicup.com/en & Yuuki Facebook )
เรื่อง ความสะอาด ปลอดภัยของถ้วยอนามัยก็เป็นอีกปัญหาที่หลายคนกังวลเมื่อจะเริ่มใช้ เพราะก่อนใช้ในทุกเดือน เราจะต้องต้มถ้วยอนามัยนี้ เพื่อฆ่าเชื้อก่อน บางคนก็เจอปัญหาว่าไม่สะดวกต้มเพราะไม่มีเตา หรือมีที่ต้ม แต่ที่บ้านก็ไม่อยากให้มาต้มในภาชนะเดียวกันกับที่ทําอาหาร ในขณะที่บางคน เมื่อใช้ไปก็เจอปัญหาว่ามีคราบสกปรกไปอุดตันในรูอากาศ ไม่รู้จะใช้อะไรทําความสะอาดดี
Yuuki แบรนด์ถ้วยอนามัยจากประเทศเช็กจึงได้ทําถ้วยอนามัยที่มาเป็นเซ็ต คือ มาพร้อมถ้วยสําหรับใส่ทําความสะอาด ฆ่าเชื้อด้วยการต้มในไมโครเวฟ และแปรงขนาดเล็กที่ใช้ทําความสะอาดรูอากาศที่ตัวถ้วยได้

Lily Cup Compact ถ้วยอนามัยแบบพับได้สําหรับพกพา

อีกปัญหาที่หลายคนอาจไม่เคยนึกถึง คือ การพกพา ถ้วยอนามัยบางแบบมีถุงหรือกล่องมาให้ แต่ก็ยังมีขนาด ใหญ่เกินกว่าจะพกพาได้สะดวก เช่น หากต้องเดินทางไปต่างจังหวัดในช่วงที่มีประจําเดือน ก็ต้องเผื่อพื้นที่ในกระเป๋าใส่ถ้วยอนามัย หรือไม่ก็ต้องกังวลว่าของในกระเป๋าจะไปทับ ทำให้เสียหายหรือไม่ Lily Cup Compact เป็นถ้วยอนามัยแบบพับได้ถ้วยแรก ที่สามารถพับให้แบนแล้วพกพาไปไหนได้สะดวก
( Cover Photo : <a href="https://www.freepik.com/photos/flower">Flower photo created by freepik - www.freepik.com</a> & Photo by Nataliya Vaitkevich from Pexels )
# insight-seeing
# product design
# experience design
# menstrual period
# napkin
# menstrual cup
SHARE NOW :
Posted On 11 Mar 2021